วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ของนางสาวณัฐกานต์ แสนใจงาม ปีการศึกษา 2557

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง     :     ผลการศึกษาการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกด
                          ไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้ศึกษา      :     ณัฐกานต์   แสนใจงาม
กลุ่มสาระการเรียนรู้   :  ภาษาไทย
ปีการศึกษา2557
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
                   ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ 2 ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80         เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                   ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2557  จำนวน 8 คน
                   ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
                   1.   ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 90.57/83.75
                   2.   ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 13.63 คิดเป็นร้อยละ 45.42 และคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 25.13 คิดเป็นร้อยละ 83.75 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนหลังเรียนมีค่าสูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน ร้อยละ 38.33
                   3.   ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านห้วยโป่ง มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม เท่ากับ 2.84


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น